มะปราง ภาวดี นางสาวไทย ปี 2538 เปิดชีวิตล่าสุด
ชีวิตสวยงามของนางงามระดับประเทศ ดูเหมือนจะเต็มไปด้วยความสุขล้น แต่ต้องพลิกเกินคาดคิด เคยจมอยู่ในกองทุกข์มหาศาลเกินบรรยาย มะปราง ภาวดี วิเชียรรัตน์ อดีตนางสาวไทยปี 2538 สมัยนั้นนางสาวไทย จะไปประกวดต่อ มิสยูนิเวิร์ส Miss Universe มะปรางบอกเลยไม่ธรรมดา สวยพุ่งเข้ารอบ 14 คนสุดท้าย
หลังจากนั้นพักใหญ่ มะปราง บินไปลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา เพื่อประกวด มิสซิสเวิลด์ Mrs.World 2003 สวยเด่นโดนใจจริงจนคว้าที่ 1 มาได้ หลังจากมะปรางทำหน้าที่นางงามได้อย่างดีเยี่ยมแล้ว มะปรางได้พบรักกับหนุ่มฟิลิปปินส์ จอห์นเมล ชาลส์ ยูชอน นักธุรกิจรวยจริงที่ทำเบเกอรี่สุดอร่อยชื่อร้าน Godlilcoks ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัวสามี เปิดขายเกือบทั่วโลกมากกว่า 600 สาขา ส่วนใหญ่อยู่ในฟิลิปปินส์ และที่สหรัฐฯ, แคนาดา และประเทศไทย มะปรางได้พบรักแต่งงานมีลูก วาดหวังชีวิตครอบครัวครบพร้อม สวยงามตามสเตป พ่อ แม่ ลูก สุขกันเถอะเรา แต่พอลูกน้อยคลอดออกมา เลี้ยงดูสังเกตไปได้สักระยะ พบว่าลูกสาวน้องมะยม มีภาวะดาวน์ หัวอกของพ่อแม่ต้องแหลกสลายย่อยยับ กว่าจะทำใจยอมรับได้ ต้องใช้เวลายาวนานเยียวยาอยู่ จากทุกข์ล้นใจเมื่อวันวาน การมีลูกเป็นเด็กพิเศษน่าจะเป็นเรื่องเศร้าเสียใจสุดๆ แต่สำหรับมะปรางชีวิตคิดบวกมากพอ
บอกเลยว่า ทุกวันนี้เป็นแม่ที่ดีเกินกว่าตัวเองจะคาดคิดได้ เป็นคนที่รู้จักแบ่งปันช่วยเหลือคนอื่นอย่างเต็มใจและจริงใจได้ ก็เพราะลูกสาวน้องมะยม หลักในการดูแลน้องมะยม มีอะไรบ้างคะ? “เขายังเป็นลูกเรา ปรางต้องให้โอกาสเขา สนับสนุนน้องมะยม แต่พอเขาดื้อไม่เชื่อฟัง เราก็ต้องทำโทษตีก้นด้วย ปรางเลี้ยงเขาให้มีความรับผิดชอบ โตไปให้อยู่ในกฎเกณฑ์ของสังคมได้ ไม่ได้เลี้ยงลูกแบบสปอยล์ ปรางพยายามเลี้ยงให้เขาอยู่ในสังคมได้ อยู่ด้วยตัวเองทำงานเองได้ และช่วยคนอื่นในสังคมได้ด้วยค่ะ” มะปรางไปใช้ชีวิตอยู่ฟิลิปปินส์นานหลายปีแล้ว อยากจะย้ายกลับมาอยู่เมืองไทยมั้ย? “กันยายนนี้ก็จะครบ 5 ปีแล้วที่มาอยู่ฟิลิปปินส์ ใจจริงอยากกลับเมืองไทย ใจคิดถึงเมืองไทยมากๆ “แต่อยู่ที่ฟิลิปปินส์ก็ดีค่ะ เพราะสามีมีญาติเยอะ เจอกันบ่อยๆ เกือบทุกวันเลยค่ะ มีทวดที่ยังแข็งแรงดี มีปู่ย่าตายายเป็นครอบครัวใหญ่ ก็อบอุ่นไปอีกแบบหนึ่ง ต่อไปอาจจะไปอยู่ที่อเมริกา เพื่อน้องมะยมอย่างเดียวเลย เพราะที่นั่นจะให้สิทธิ์ความเท่าเทียมความยุติธรรม กับคนที่มีภาวะดาวนเท่าเทียมกับคนทั่วไป เช่น สิทธิ์เท่าเทียมกันเรื่องเรียนการศึกษา ฯลฯ ที่ฟิลิปปินส์ยังไม่มีตรงนี้ไงคะ”