ยื่นทบทวนสิทธิ  ประกันสังคม ม.33 39 40

ยื่นทบทวนสิทธิ ประกันสังคม ม.33 39 40

นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยถึงโครงการเยียวยา นายจ้าง และ ผู้ประกันตน ม.33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด ใน 9 ประเภทกิจการ ซึ่งได้โอนจ่ายเงินรอบแรกไปแล้ว เมื่อวันที่ 4 - 6 สิงหาคม 2564 วันละ 1 ล้านคน เข้าบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนของผู้ประกันตน 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ สงขลา ทั้งนี้ ปรากฏว่าโอนเงินไม่สำเร็จ 170,613 คน ส่วนสาเหตุ คือ ยังไม่ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน ผูกพร้อมเพย์กับเบอร์โทรศัพท์ บัญชีปิด / ไม่มีความเคลื่อนไหว และสาเหตุอื่น ๆ ทำให้ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือรอบแรกนี้

ขอให้เร่งตรวจสอบข้อมูลตนเอง ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน หากบัญชีปิด / ไม่เคลื่อนไหว ให้ดำเนินการเปิดบัญชี และผูกพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน เพื่อรอรับเงินช่วยเหลือเยียวยา ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจะโอนให้อีกรอบในวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2564

ตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาฯ (ผู้ประกันตนมาตรา 33)

ตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาฯ (นายจ้าง)

นายจ้างสามารถยื่นความประสงค์ขอรับเงินได้ที่ ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)

Download : แบบประสงค์ขอรับเงินโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

Download : หนังสือมอบอำนาจกรณีนายจ้างขอรับเงินโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

เข้าเกณฑ์แต่ไม่ได้เงินเยียวยา ยื่นทบทวนสิทธิ ได้

นายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 ใน 13 จังหวัด พื้นที่สีแดงเข้ม ที่เข้าไปตรวจสอบสิทธิรับเงินเยียวยาตามมาตรา 33 ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th คลิกที่นี่ แล้ว ไม่พบสิทธิ แต่นายจ้างประกอบกิจการอยู่ใน 9 กลุ่มกิจการ ตามประกาศ ศบค. ต้องทำอย่างไร

ให้นายจ้างและผู้ประกันตน ยื่นร้องทุกข์ขอทบทวนสิทธิ เนื่องจากไม่ได้รับสิทธิ ให้สำนักงานประกันสังคม ดำเนินการตรวจสอบนิติสัมพันธ์ ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 และสำนักงานประกันสังคม ที่รับผิดชอบดำเนินการบันทึกข้อมูลนายจ้างเข้าระบบ ภายในวันที่ 18 ตุลาคม 2564

กรณีมีสำนักงานใหญ่อยู่นอกพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด แต่มีสาขาตั้งอยู่ใน 13 จังหวัดที่ได้รับการเยียวยา

ให้นายจ้างรีบดำเนินการติดต่อสำนักงานประกันสังคมที่รับผิดชอบ เพื่อขอจดทะเบียนเพิ่มสาขา หรือขอเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงของประเภทกิจการ กรณีข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปจากที่แจ้งไว้เดิม โดยให้ดำเนินการ ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2564

หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

ยืนยันวันโอนเงินเยียวยา ม.33 ในอีก 16 จังหวัด

นางสาว ลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม ให้สัมภาษณ์สดผ่านทางโทรศัพท์ รายการเนชั่นทันข่าวค่ำ เวลา 18.10 น. (11 สิงหาคม 2564)ทางสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี ถึงการโอนเงินเยียวยาลูกจ้างและนายจ้าง ม.33 พื้นที่ 16 จังหวัดที่ลงทะเบียนและจ่ายเงินสมทบว่า จะเริ่มโอนให้ในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ตามที่ นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกประจำศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของ โ ร ค ติด เ ชื้ อ ไ ว รั ส CV-19 (ศบศ.) เปิดเผยก่อนหน้านี้

เคาน์เตอร์เซอร์วิส ห้างเทสโก้ โลตัส บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ CenPay ตู้บุญเติม ช้อปปี้ เพย์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ทีเอ็มบีธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนคารกรุงศรีอยุธยา

ช่องทางการรับเงินเยียวยาประกันสังคม ผ่านระบบพร้อมเพย์

วิธีการและช่องทางการลงทะเบียนของแต่ละธนาคาร

ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต ธนาคารทิสโก้ ธนาคารไทยเครดิต ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารยูโอบี ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลาม

ครม. อนุมัติเยียวยา ม.39 ม.40 พื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (10 สิงหาคม 2564) เห็นชอบกรอบวงเงิน 3.3 หมื่นล้านบาท เยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และ มาตรา 40 ในพื้นที่ 29 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ โดยช่วยเหลือค่าครองชีพคนละ 5,000 บาท รวมทั้งสิ้น 6,694,201 คน อยู่ในพื้นที่ดำเนินการ 29 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ระยอง ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี ตาก อ่างทอง นครนายก สมุทรสงคราม และ สิงห์บุรี กลุ่มเป้าหมาย รวมประมาณ 6,694,201 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จำนวน 1,436,171 คน และมาตรา 40 จำนวน 5,258,030 คน คุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และ มาตรา 40 มีสัญชาติไทย สถานะผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และ มาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะ A (Active) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด) หรือ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 16 จังหวัด) กรณีเป็นผู้สมัครเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะรอชำระเงิน W (Wait) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต้องไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39 ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และ มาตรา 40 ต้องไม่เป็นข้าราชการ หรือผู้รับบำนาญของกรมบัญชีกลาง โอนเงินให้กับผู้ประกันตนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) เฉพาะที่ผูกบัญชีกับเลขประจำตัวประชาชน เท่านั้น

โฆษกสำนักงานประกันสังคม ไขข้อข้องใจ ม.39 ม.40 โอนเงินวันไหน

นางสาว ลัดดา แซ่ลี้ ให้สัมภาษณ์สดผ่านทางโทรศัพท์ รายการเนชั่นทันข่าวค่ำ เวลา 18.10 น. (11 สิงหาคม 2564) ทางสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี ถึงการโอนเงินเยียวยา ม.39 ม.40 ว่า จะโอนให้กับ 13 จังหวัดก่อน ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ทั้งนี้ สำหรับ ม.40 พื้นที่ 16 จังหวัด ขยายเวลารับสมัครและชำระเงินได้ถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2564 โดยจะจ่ายเงินเยียวยาตามไปให้ภายหลังจากนี้

เข้า เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th คลิกที่นี่

หัวข้อ ระบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ตามมาตรา 40 คลิก ลงทะเบียนผู้ประกันตน มาตรา 40 คลิกที่นี่

กรอก ข้อมูลผู้สมัคร ด้านล่างให้ครบถ้วน

ยืนยันการขึ้นทะเบียน

เรียบเรียงโดย ทีมงาน siamtoday

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ