กรมวิทย์ฯ เผยเดลต้า ครองพื้นที่เกือบ 100%

กรมวิทย์ฯ เผยเดลต้า ครองพื้นที่เกือบ 100%

เมื่อวันที่ 10 ส.ค. นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวการตรวจเฝ้าระวัง เ ชื้ อ ไ ว รั ส CV-19 สายพันธุ์ต่างๆ กล่าวว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 31 ก.ค. - 6 ส.ค. 2564 ทั่วประเทศมีการตรวจรหัสพันธุกรรม ไ ว รั ส CV-19 จำนวน 1,632 ราย พบเป็นสายพันธุ์เดลตา 1,499 ราย คิดเป็น 91.9% สายพันธุ์อัลฟา 129 ราย คิดเป็น 7.9% และสายพันธุ์เบตา 4 ราย คิดเป็น 0.2% โดยพบในภาคใต้ทั้งหมด

เมื่อพิจารณาเฉพาะพื้นที่ กทม. มีการตรวจ 1,157 ตัวอย่าง พบสายพันธุ์เดลตา 95.4% สายพันธุ์อัลฟาเหลือ 4.6% ส่วนภูมิภาคมีการตรวจ 475 ตัวอย่าง พบสายพันธุ์เดลตา 83.2% สายพันธุ์อัลฟา 16% และสายพันธุ์เบตา 0.8%

พูดง่ายๆ สายพันธุ์เดลตาพบมากขึ้นและคงเบียดสายพันธุ์อัลฟาเรื่อยๆ จนสุดท้ายเกือบทุกรายน่าจะเป็นสายพันธุ์เดลตาเป็นหลัก ซึ่งเมื่อดูจากกราฟการตรวจพันธุกรรมในทุกสัปดาห์ สายพันธุ์เดลตาขึ้นทุกสัปดาห์มาค่อนข้างเร็ว เพราะสายพันธุ์เดลตามีอำนาจกระจาย เ ชื้ อ ได้ง่าย จึงครอบครองพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งขณะนี้พบทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศแล้ว ยังไม่ที่สุพรรณบุรี แต่เข้าใจว่าอาจจะยังตรวจไม่เจอ แต่ไม่ได้แปลว่าไม่มี จึงอาจสรุปได้ว่ามีสายพันธุ์เดลตาครบทุกจังหวัดของไทยแล้ว นพ.ศุภกิจกล่าว

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ส่วนสายพันธุ์เบตาสัปดาห์ที่ผ่านมาพบ 4 ราย คือ ภูเก็ต 3 ราย และพัทลุง 1 ราย ภาพรวมสายพันธุ์เบตา 70% อยู่ที่นราธิวาส ที่เริ่มต้นจากการมีคนเดินทางข้ามมาจากมาเลเซียและเอาสายพันธุ์นี้เข้ามาด้วย สายพันธุ์เบตาอำนาจ แ พ ร่ เ ชื้ อ ไม่มาก ก็ค่อนข้างจำกัดวงที่ภาคใต้ การเจอนอกภาคใต้คือ จ.บึงกาฬเจอ 2 สัปดาห์ จำนวน 5 ราย ซึ่งยุติไปแล้ว ส่วน 3 รายสมุทรปราการอยู่ในสเตทควอรันทีน และ กทม.เคยเจอ 1 รายแรกบวกญาติ 2 รายก็จบแล้ว ไม่พบเพิ่มเติม เพราะฉะนั้นกรณีเบตาไม่น่าเป็นปัญหานอกพื้นที่ชายแดนใต้ แต่ต้องเฝ้าระวังต่อไปจะ แ พ ร่ กระจายที่อื่นหรือไม่ เราสามารถตรวจจับได้จากระบบเฝ้าระวังของเรา

ขอให้ช่วยกัน เพราะธรรมชาติสายพันธุ์เดลตามีการแพร่กระจายติด เ ชื้ อ ง่ายมากกว่าเดิมหลายเท่า ทำให้การแพร่กระจายถึงรวดเร็ว คนไข้เพิ่มหลัก 2 หมื่นรายต่อวัน ด้วยอำนาจ แ พ ร่ เ ชื้ อ ที่ง่ายทำให้ติดง่าย ดังนั้น ต้องเคร่งครัดใส่หน้ากาก ล้างมือ รักษาระยะห่าง อย่ารวมกลุ่ม ให้คนไทยช่วยกัน ไม่มีอะไรดีกว่าที่เราช่วยกันหยุดยั้ง เพราะไวรัสไปเองไม่ได้ ไปกับผู้คน การทำกิจกรรมเสี่ยงทั้งหลาย ถ้าเราหยุดการ แ พ ร่ เ ชื้ อ เร็ว ควบคุม โ ร ค เร็ว โอกาสกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่จะน้อยลง ซึ่งตอนนี้เรายังไม่เจอสายพันธุ์อื่น เช่น แลมบ์ดา โดยมีการเฝ้าระวังคนมาจากต่างประเทศ ทั้งในสเตท ควอรันทีน ชายแดน คลัสเตอร์แปลกๆ หรือคนไข้หนัก นพ.ศุภกิจกล่าว

นพ.ศุภกิจกล่าวว่า ส่วนกรณีเห็นในโซเชียลมีเดีย มีอินฟลูเอนเซอร์หรือใครก็ตามพยายามไปตรวจภูมิคุ้มกันหลังฉีด วั ค ซี น แล้วบอกว่าขึ้นเท่านั้นเท่านี้ คนนั้นขึ้นน้อยขึ้นมาก ซึ่งการตรวจแบบนั้นไม่ได้บอกอะไร ไม่คุ้มที่จะไปตรวจ เพราะว่าเป็นการขึ้นของภูมิคุ้มกันในภาพรวม ไม่ได้บอกด้วยซ้ำว่าจัดการกับ เ ชื้ อ สายพันธุ์ต่างๆ ได้มากน้อยแค่ไหน และแล็บแต่ละแห่งมีค่าของตัวเลขการวัดที่แตกต่างกันไป และองค์การอนามัยโลกยังไม่กำหนดว่าระดับภูมิคุ้มกันแค่ไหนจะป้องกัน โ ร ค ได้

ดังนั้น หากมีคคิดไปตรวจก็ควรถามคนตรวจว่า ใช่การตรวจ Neutralizing Antibodies ที่เป็นภูมิกำจัด เ ชื้ อ โ ร ค หรือไม่ เป็นภาพรวมหรือจำเพาะต่อ เ ชื้ อ สายพันธุ์ใด ต้องถามเพื่อให้คนตรวจอธิายว่าผลแปลว่าอย่างไร เพราะถ้าเป็นภูมิคุ้มกันทั่วไปไม่มีประโยชน์ พอขึ้นไม่มากก็ไม่สบายใจ หรือขึ้นมากก็ไม่ได้แปลว่าป้องกัน โ ร ค ได้ ซึ่งมองว่ามีกระบวนการชักชวนให้ตรวจ แต่ไม่มีความจำเป็น

เรียบเรียงโดย ทีมงาน siamtoday

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ