โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ประกาศแล้ว
เมื่อวันที่ 5 ส.ค. ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แถลงข่าวผ่านระบบออนไลน์ชี้แจงการพัฒนาและคิดค้นสูตร ตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ สำหรับผลิตในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ตำรับแรกในประเทศไทยว่า การติด เ ชื้ อ CV-19 ในเด็ กมีมากขึ้น สามารถ แ พ ร่ ไปยังผู้ใหญ่ได้ ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทรงเป็นห่วงและติดตามสถานการณ์มาตลอด
โดยเฉพาะเด็กเล็กเมื่อป่วยจะใช้ยาลำบาก จึงเป็นที่มาให้ รพ.จุฬาภรณ์ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เมดิกา อินโนวา จำกัด ร่วมพัฒนา ตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ มีการคัดเลือกและควบคุมคุณภาพวัตถุดิบตัวยาสำคัญตามมาตรฐานสากล เป็นตำรับยาปราศจากน้ำตาล เหมาะสำหรับเด็ก ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่กลืนยาลำบาก หรือต้องให้อาหารทางสายยาง อย่างไรก็ตาม
การใช้ยาตัวนี้ต้องเป็นตามแพทย์สั่งเท่านั้น เพราะต้องติดตามอาการข้างเคียง มีอายุการใช้งาน 30 วัน และยังผลิตได้ในจำนวนจำกัดเนื่องจากเป็นการใช้ในภาวะฉุกเฉิน คณะวิจัยกำลังพัฒนาสูตรให้สามารถเก็บได้นานขึ้น หาก รพ.ไหนมีศักยภาพจะนำตำรับยานี้ไปผลิตก็พร้อมสนับสนุน ทั้งนี้ แพทย์หรือ รพ.สามารถขอรับตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยส่งข้อมูลทางเว็บไซต์ favipiravir.cra.ac.th ตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค.นี้เป็นต้นไป ระยะแรกสามารถผลิตยาได้ไม่มากประมาณ 100 รายต่อสัปดาห์ หรือ 20 รายต่อวัน จะเร่งส่งยาภายใน 1 วัน
พญ.ครองขวัญ เนียมสอน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ รพ.จุฬาภรณ์กล่าวว่า ข้อดีของยาน้ำคือมีปริมาณยาคงที่ดูดซึมยาได้ดี การให้ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ในเด็กขึ้นอยู่กับน้ำหนัก ช่วง 2 วันแรกจะให้รับมากกว่าปกติ 4 เท่าเพื่อยับยั้งไวรัส ขณะนี้มีการทดลองใช้จริงในคนไข้เด็กช่วงอายุ 8 เดือน-5 ปี จำนวน 12 ราย พบว่าตอบสนองต่อการรักษาได้ดี และไม่พบผลข้างเคียงร้ายแรง.
เรียบเรียงโดย ทีมงาน siamtoday