ศบศ. มั่นใจ มาตรการลดค่าเทอม บรรเทาค่าใช้จ่ายผู้ปกครองได้
นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกประจำศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติด เ ชื้ อ ไ ว รั ส CV-19 (ศบศ.) เปิดเผยว่า ตามที่ ครม. เห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนและประชาชน เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครอง และนักเรียนนักศึกษา ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ประจำปีการศึกษา 1/2564 ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การ แ พ ร่ ร ะ บ า ดของCV-19 โดยมีแนวทางการช่วยเหลือ 2 มาตรการ ได้แก่ 1. มาตรการให้ความช่วยเหลือฯ ของกระทรวงศึกษาธิการ และ 2. มาตรการให้ความช่วยเหลือฯ ของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ โดยประมาณการกรอบวงเงินในการเยียวยาช่วยเหลือทั้งสองมาตรการ จำนวน 33,000 ล้านบาท
โฆษก ศบศ. กล่าวอีกว่า มาตรการให้ความช่วยเหลือฯ ของกระทรวงศึกษาธิการ มีแนวทาง ดังนี้ 1. สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้ผู้ปกครอง 2,000 บาท ต่อนักเรียน 1 คน เพื่อบรรเทาค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองที่เพิ่มขึ้นจากการปรับรูปแบบการเรียนการสอน ซึ่งจากการสำรวจ ขณะนี้นักเรียนในระบบ จำนวน 10,793,975 คน ประมาณการค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 21,587,950,000 บาท 2. จัดสรรค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยสถานศึกษา ลดค่าใช้จ่ายของครูในการดูแลนักเรียน โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลที่ครูมีภาระในการติดตามและการจัดการการสอนภายใต้สถานการณ์โควิด 3. ลดหรือชะลอการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ปกครองในโรงเรียนเอกชน เป็นการดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 และ มาตรา 34 ของ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 โดยลดค่าใช้จ่าย หรือ ตรึงค่าใช้จ่ายในภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2564 ให้เท่ากับปีการศึกษา 2563 ซึ่งที่ผ่านมาโรงเรียนเอกชนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ได้ดำเนินการคืนค่าธรรมเนียมให้กับผู้ปกครองแล้ว จำนวน 2,275.27 ล้านบาท ทั้งนี้ คาดว่างบประมาณของมาตรการนี้อยู่ที่ 23,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการลดค่าธรรมเนียมการศึกษาของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและภาคเอกชน โดยของภาครัฐ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. ลดค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียม ส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาท ร้อยละ 50 2. ส่วนที่ 50,001-100,000 บาท ลดร้อยละ 30 3. ส่วนที่เกิน 100,00 บาทขึ้นไป ลดร้อยละ 10 ซึ่งการให้ส่วนลดจะเป็นการความจ่ายระหว่างรัฐบาลและสถาบันอุดมศึกษา ในอัตรา 6:4 โดยรัฐบาลจะสนับสนุน ร้อยละ 60 และสถาบันอุดมศึกษาสมทบ ร้อยละ 40
ทั้งนี้ นายธนกร กล่าวต่อว่า ในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาภาคเอกชน รัฐบาลจะสนับสนุนลดค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมให้คนละ 5,000 บาท และให้ทางสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแต่ละแห่งพิจารณาสนับสนุนมาตรการอื่นเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เช่น ขยายเวลาผ่อนชำระหรือผ่อนจ่ายค่าธรรมเนียม การจัดหาอุปกรณ์/โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับยืมเรียนออนไลน์ การลดค่าหอพักนักศึกษา เป็นต้น โดยคาดว่าการดำเนินการดังกล่าวภายใต้กรอบวงเงิน 10,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ครม. ได้มอบให้กระทรวงศึกษา และกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม จัดทำขอเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนแหล่งเงินในการดำเนินการ และย้ำการกำหนดกลไกตรวจสอบยืนยันตัวตนของผู้ที่จะดั้บความช่วยเหลือและการจ่ายเงินผ่านบัญชีธนาคาร โดยให้เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจถึงหลักการ และแนวทางให้ความช่วยเหลือต่อไป อย่างไรก็ตามตนมั่นใจว่ามาตราการดังกล่าวจะช่วยผู้ปกครองได้มาก โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการกลาโหม จะดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกกลุ่ม ขอให้ทุกฝ่ายอดทนและช่วยกัน เราจะผ่านมันไปได้